รีวิว อาชญาเกม
สวัสดีครับ นี่ก็นับว่าเป็นหนังไทยม้ามืดอีกเรื่อง หนังไทยnetflix ที่โดยความรู้สึกส่วนตัวแล้วแอบรู้สึกเซอร์ไพรส์พอควรหลังจากปล่อยตัวอย่างมาแล้วมู้ด และ โทนหนังมันดูน่าสนใจดูดีมาก เป็นดราม่าธริลเลอร์ที่ดูเข้มข้นทีเดียว สำหรับภาพยนตร์เรื่อง The Up Rank อาชญาเกม คือภาพยนตร์ไอเดียสุดเจ๋งจาก Kantana Motion Pictures และ XSpring โดยฝีมือของสองผู้กำกับ กัลป์ กัลย์จาฤก และ วทัญญู อิงควิวัฒน์ ส ปอย หนัง ที่หยิบนำเรื่องราวอีกด้านของวงการเกมอย่าง ‘การรับจ้างปั๊มแรงก์’ ดูหนังออนไลน์ ที่แม้จะผิดกฎเกมแต่ก็ไม่ผิดกฎหมายมานำเสนอ ดูหนังฟรี พร้อมได้ 4 นักแสดงนำรุ่นใหม่อย่าง เอม-ภูมิภัทร ถาวรศิริ, กิต-กฤตย์ จีรพัฒนานุวงศ์ หรือ กิต Three Man Down, แจ็ค-กิตติศักดิ์ ปฐมบูรณา และ มีน-สุดารัตน์ ผุงศิริ มาร่วมฟอร์มทีมรับจ้างครั้งนี้
หนังไทยม้ามืดที่ส่วนตัวรู้สึกเซอร์ไพรส์พอควรหลังจากปล่อยตัวอย่างมาแล้วมู้ด และ โทนหนังดูดีมาก เป็นดราม่าธริลเลอร์ที่ดูเข้มข้นทีเดียว แต่ก็คงเช่นเดียวกับผู้ชมกลุ่มเป้าหมายของหนังซึ่งคงเป็นวัยรุ่นที่เล่นเกมอยู่แล้วบ้าง ที่ดูแล้วก็เกิดคำถามตั้งแต่ตัวอย่างว่า การปั๊มแรงก์
ที่นำมาเป็นหัวใจของหนังนั้นมันเป็นปัญหา และ นำพามาถึงความรุนแรงอย่างที่เสนอได้เลยหรือ ? แน่นอนว่ามันก็ต้องให้โอกาสผู้สร้างในการนำเสนอก่อน ถ้าเขาเอาชนะความสงสัยนี้ได้ ที่เหลือก็สบายเพราะดูทรงแล้วทำได้ดี แต่ถ้าผ่านไม่ได้ก็จะทำให้หนังที่เหลือยืนอยู่บนข้อสงสัยว่ามันไม่น่าจะเกิดจริงได้ ซึ่งเป็นอันตรายพอควรถ้าอยากทำหนังบันเทิงให้คนอิน
รีวิว อาชญาเกม
รีวิว อาชญาเกม หากภาพยนตร์เรื่อง Mother Gamer เกมเมอร์ เกมแม่ (2563) ของผู้กำกับ เสือ-ยรรยง คุรุอังกูร เป็นผลงานที่ทำหน้าที่พาผู้ชม (โดยเฉพาะผู้ใหญ่) ไปทำความรู้จักกับโลกของวงการเกมอีสปอร์ตไทย เพื่อยืนยันกับทุกคนว่า ‘เกม’ ไม่ได้เป็นเพียงสื่อบันเทิงชนิดหนึ่งเท่านั้น แต่มันยังสามารถนำไปต่อยอดเป็นอาชีพหรือเป็นนักกีฬาอีสปอร์ตได้จริง ๆ
The Up Rank อาชญาเกม ของสองผู้กำกับ กัลป์ กัลย์จาฤก และ วทัญญู อิงควิวัฒน์ ก็ดูเหมือนจะเป็นผลงานที่กำลังนำเสนอ ‘มุมมองอีกด้าน’ ของวงการเกมให้เราได้ทำความรู้จักผ่านการหยิบประเด็นของการรับจ้างปั๊มแรงก์ หรือการรับจ้างเล่นเกมให้กับลูกค้าที่อยากให้ไอดีของตัวเองอยู่ในระดับแรงก์ที่สูงเหนือกว่าใคร ซึ่งผู้เขียนคิดว่าผู้กำกับ และ ทีมสร้างสามารถตีโจทย์ และ นำเสนอเรื่องราวดังกล่าวออกมาได้อย่างน่าสนใจ และชวนติดตามมาก ๆ
อย่างแรกคือการตัดสินใจที่จะไม่ลงรายละเอียดของ ‘รูปแบบการเล่น และ การแข่งขันภายในเกม’ มากนัก และ เลือกที่จะพาผู้ชมไปติดตามเรื่องราวของกลุ่มตัวละครหลักที่ต้องเผชิญกับปมปัญหาต่าง ๆ เป็นหลัก
มันจึงทำให้ตัวภาพยนตร์มีความชัดเจนในเนื้อหาที่อยากจะเล่า และ ไม่พาผู้ชมหลุดไปจากประเด็นดังกล่าวมากนัก ซึ่งหากว่ากันตรง ๆ มันก็คือการโกงนั่นแหละ และ หากถูกจับได้ บทลงโทษของคน ‘จ้าง’ หรือ ‘รับจ้าง’ ก็คือการถูกแบนออกจากเกมนั้น ๆ หรืออาจถูกแบนจากวงการเกม และ ดูเหมือนว่าผู้กำกับ และ ทีมสร้างจะไม่ได้หยุดอยู่แค่ประเด็นของการรับจ้างปั๊มแรงก์เท่านั้น แต่พวกเขาเลือกที่จะลอง ‘ขยายผล’ ของประเด็นดังกล่าวให้กว้างขึ้นว่าหากการรับจ้างปั๊มแรงก์มันสามารถทำเงินได้ดีจนเติบโตเป็นธุรกิจได้จริง ๆ มันจะเป็นอย่างไร
เรื่องย่อ/เนื้อหา
หนังจะเล่าผ่านสายตาของ ยู (กิต-กฤตย์ จีรพัฒนานุวงศ์ หรือ กิต วง Three Man Down) เด็กหนุ่มผู้มีพรสวรรค์ในการเล่นเกม แต่มักถูกคนรอบตัวมองว่าไม่มีอนาคตโดยเฉพาะจากพ่อของเขา (ดู๋-สัญญา คุณากร) ที่มองว่าเอาแต่เล่นเกมจนไม่ไปเรียนไม่หางานทำ โชคดีที่บ้านของยูมีธุรกิจงานพิมพ์เล็ก ๆ พ่อจึงใช้ยูไปส่งของให้ลูกค้าบ้าง
วันหนึ่งเขาได้รับข้อเสนอจาก โฮม (เอม-ภูมิภัทร ถาวรศิริ) ให้มาเป็นส่วนหนึ่งของทีมรับจ้างปั๊มแรงก์ที่ชื่อ The Up Rank ร่วมกับ พีท (แจ๊ค-กิตติศักดิ์ ปฐมบูรณา) อดีตโปรเพลเยอร์อีสปอร์ตที่ยังมีฝีไม้ลายมือเป็นกำลังหลักของทีมปั๊มแรงก์ และ ทอย (มีน-สุดารัตน์ ผุงศิริ) สตีมเมอร์สาวสวยที่เป็นแฟนกับพีททำหน้าที่ประสานงานกับลูกค้า อาชญาเกม เต็มเรื่อง เมื่อกิจการไปได้ดีโฮมเริ่มคิดการใหญ่ขยายจำนวนทีมเพื่อรับจ้างปั๊มแรงก์ให้ได้มากขึ้นโดยไปกู้เงินนอกระบบจากมาเฟีย (เฟิด-คาริญญ์ยวัฒ ดุรงค์จิรกานต์ หรือ เฟิด วง Slot Machine) ซึ่งเป็นก้าวที่ทำให้โฮมถอยหลังไม่ได้อีกแล้ว และ เมื่ออะไร ๆ ไม่เป็นดังหวังจนทีมเริ่มแตก โฮมก็เริ่มใช้อำนาจจอมบงการเข้าควบคุมทุกคนโดยไม่เลือกวิธีการ
ความรู้สึกหลังรับชม/ความประทับใจ
จุดเด่นข้อต่อมาที่เราอยากชื่นชมเป็นการส่วนตัวคือ งานโปรดักชันที่เข้ามาเสริมให้บรรยากาศของภาพยนตร์จริงจัง และ เข้มข้นมากขึ้นหลายเท่า อาชญาเกม รีวิว ทั้งการเลือกใช้การตัดต่อแบบ Quick-Cut เพื่อให้เรื่องราวในบางฉากมีความกระชับ และ ดูน่าสนใจ หรือการเลือกใช้มุมกล้อง และ การจัดแสงเพื่อขับเน้นคาแรกเตอร์ของตัวละครให้โดดเด่นขึ้นมา ทั้งความน่าเกรงขามของเจ้าพ่อมาเฟียที่รับบทโดย เฟิด-คาริญญ์ยวัฒ ดุรงค์จิรกานต์ (เฟิด Slot Machine)
ที่แม้จะออกมาน้อย แต่เราก็สัมผัสได้ถึงความอันตรายของตัวละครตัวนี้ได้ทุกครั้ง หรือจะเป็นการเปลี่ยนสีเสื้อผ้าที่ตัวละครยูสวมใส่เพื่อนำเสนออารมณ์ และ ความคิดที่เปลี่ยนแปลงไปของตัวละคร ขณะเดียวกัน ภาพยนตร์ก็ยังมีจุดที่เรารู้สึกเสียดายในแง่ของการนำเสนอ Background และ ปมปัญหาของตัวละครให้ผู้ชมรู้จัก
ซึ่งเราคิดว่าผู้กำกับ และ ทีมสร้างใช้เวลาในการเล่าเนื้อหาส่วนนี้น้อยไปสักหน่อย ยกตัวอย่างเช่น เหตุผลที่ผลักดันให้โฮมต้องการเงินจำนวนมาก เขาจึงทุ่มเททุกอย่างเพื่อธุรกิจปั๊มแรงก์ ภาพยนตร์ก็เลือกที่จะเล่าประเด็นดังกล่าวผ่านบทสนทนาสั้น ๆ ไม่กี่ประโยค และ ยังคลุมเครือไม่ชัดเจน หรือจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างยูและพ่อ (ดู๋-สัญญา คุณากร) ที่ภาพยนตร์พาเราไปรู้จักพวกเขาเพียงผิวเผินเท่านั้น
รีวิว อาชญาเกม
รีวิว อาชญาเกม เรื่องนี้เป็นการจับมือกันทำหนังของ 2 นักทำหนังรุ่นใหม่ อย่าง “กัลป์ กัลย์จาฤก” และ “โอ๊ต-วทัญญู อิงควิวัฒน์” ที่พวกเขาเลือกที่จะหยิบเอาวงการด้านมืดของวงการเกม อาชญาเกม pantip และ อีสปอร์ตมาตีแผ่ ผ่านวงการปั้มแรงค์เกมที่ถือว่าเป็นกิจการใต้ดินที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้กับผู้เล่นที่มีฝีมือ และ อาจจะต่อยอดให้กับตัวเอง เป็นด้านมืด ๆ เทา ๆ ที่นานครั้งจะเห็นวงการหนังไทยหยิบเล่นอะไรแบบนี้มาขึ้นจอใหญ่สักหน และ เรื่องนี้ก็กล้าที่จะนำเสนอประเด็นนี้ออกมาแบบขึงขัง
นอกจากนี้ผู้กำกับ และ ทีมสร้างก็สร้างสรรค์คาแรกเตอร์ของตัวละครหลักทั้ง 4 ตัวออกมาได้น่าสนใจ ไม่มีใครโดดเด่นมากน้อยไปกว่ากัน เช่น ยู เกมเมอร์หนุ่มที่เป็นตัวแทนในการพาผู้ชม (ทั้งคนที่เล่นเกมอยู่แล้วหรือไม่เล่นก็ตาม) เข้ามาทำความรู้จักพื้นที่สีเทาของวงการเกมภายในเรื่อง พร้อมชวนเราตั้งคำถามว่าสิ่งที่พวกเขาทำอยู่นั้นถูกต้องหรือไม่ และ เราควรจะทำอย่างไรหรือมีมาตรการอะไรเพื่อมาแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้อย่างเห็นผลที่สุด หรือ ทอย
ซึ่งเป็นตัวแทนของสตรีมเมอร์สาวที่เผยให้เราเห็นว่าแม้เธอจะสามารถสร้างรายได้ให้ตัวเองด้วยการเล่นเกมก็ตาม แต่ขณะเดียวกันเธอก็ต้องเผชิญกับคอมเมนต์บนโลกโซเชียลที่ไม่ให้เกียรติ จนหลายครั้งก็ลามไปถึงการใช้ถ้อยคำที่ส่อไปทางเหยียดเพศหรือคุกคามทางเพศ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่ยังคงเกิดขึ้นจริงกับสตรีมเมอร์หลายคนในปัจจุบัน และ พีท อดีตโปรเพลเยอร์ที่ถูกเพื่อนร่วมทีมเหยียดหยามในความสามารถจนตัดสินใจลาออกมาทำงานรับจ้างปั๊มแรงก์ร่วมกับโฮม
เพียงแต่ว่าน่าเสียดายไปสักนิด เพราะในท้ายที่สุดแล้วนั้น The Up Rank อาชญาเกม กลายเป็นหนังที่ค่อนข้างจะเพลย์เซฟไปสักหน่อย หนังยังไม่สามารถเข้าถึงแก่น และ ด้านหม่นของวงการเกมที่หยิบมาชูเป็นประเด็นของหนังได้อย่างได้เข้มข้นสักเท่าไหร่ ให้ความรู้สึกเหมือนยังกล้า ๆ กลัว ๆ ที่จะตีแผ่ สุดท้ายจึงกลายออกมาเป็นบทหนัง และ การเล่าเรื่องที่เพียงแค่นำเสนอในระยะผิวเผินของวงการนี้เท่านั้น ไม่ได้ยั้งลึก ไม่ได้สร้างมิติ และ ยังไม่มีแก่นสารที่หนักแน่นมากพอนัก
บทสรุป
ในภาพรวมแล้ว แม้ว่า The Up Rank อาชญาเกม จะมีจุดที่ทำให้เรารู้สึกติดขัดอยู่บ้าง แต่ด้วยกลวิธีนำเสนอที่สร้างสรรค์ งานโปรดักชันที่เก็บทุกรายละเอียด ปมปัญหาหลักของเรื่องที่นำเสนอได้น่าสนใจ รวมถึงการแสดงอันยอดเยี่ยมของนักแสดงทุกคนที่ชวนให้เราเข้าใจ และ มีอารมณ์ร่วมไปกับตัวละคร อาชญาเกม ภาพยนตร์
ทั้งหมดนี้จึงส่งให้ The Up Rank อาชญาเกม เป็นภาพยนตร์ไทยอีกหนึ่งเรื่องของปีนี้ที่มีความแปลกใหม่ และ นำเสนอเรื่องราวอีกแง่มุมหนึ่งของวงการเกมออกมาได้อย่างน่าติดตามตลอดทั้งเรื่อง