รีวิว ghost lab ฉีกกฎทดลองผี
หลาย ๆ คนที่ได้เห็น trailer หรือ ชื่อเรื่อง ต่างก็รู้สึกเหมือนผมกันใช่มั้ย หนังไทยnetflix คือ รู้สึกว่าหนังมันต้องสนุกแน่ ๆ 55 ซึ่งจะสนุกหรือไม่นั้นก็แล้วแต่ความชอบของแต่ละคน ส ปอย หนัง ซึ่งผมเชื่อว่าคนดูหนังไทยหลายคนอาจมีความคาดหวังในภาพยนตร์ไทย ดูหนังออนไลน์ ดูหนังฟรี แนวสยองขวัญเรื่องล่าสุดอย่าง Ghost Lab: ฉีกกฎทดลองผี ดูหนังฟรี ดูหนังออนไลน์ ไม่ใช่แค่เป็นผลงานจากค่าย GDH x Netflix เท่านั้น หากแต่เป็นผลงานการกำกับของ กอล์ฟ-ปวีณ ภูริจิตปัญญา ที่เคยประสบความสำเร็จจากการกำกับภาพยนตร์แนวเดียวกันมามากมาย
“คุณเชื่อในโลกหลังความตายไหม” หลังจากเห็น “ผี” ตัวเป็น ๆ ด้วยกันครั้งแรก กล้า และ วี แพทย์หนุ่มคู่หูตัดสินใจร่วมกันทำการทดลองเพื่อหาทางพิสูจน์ว่า “โลกหลังความตาย” มีจริง และ ในการค้นหาทฤษฎีควบคุมการปรากฏตัวของผี พวกเขาต้องออกตามล่าวิญญาณมาเป็น “ผู้ร่วมทดลอง” ด้วยความเชื่อมั่นว่า พวกเขาจะเป็นบุคคลกลุ่มแรกของโลกที่พิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ ได้ว่า “ผีมีจริง” โดยหารู้ไม่ว่าคำตอบที่ตามหานั้น มาพร้อมกับหายนะที่ไม่คาดคิด
รีวิว ghost lab ฉีกกฎทดลองผี
รีวิว ghost lab ฉีกกฎทดลองผี โกสต์แล็บ..ฉีกกฎทดลองผี (อังกฤษ: GHOST LAB) เป็นเว็บภาพยนตร์ไทย GHOST LAB แนวสยองขวัญเชิงวิทยาศาสตร์ กำกับโดย ปวีณ ภูริจิตปัญญา ผลิตโดยจีดีเอช ห้าห้าเก้า และ จอกว้าง ฟิล์ม ภายใต้การควบคุมการผลิตโดย เน็ตฟลิกซ์ นำแสดงโดย ธนภพ ลีรัตนขจร พาริส อินทรโกมาลย์สุต ณัฏฐณิชา ดังวัธนาวณิชย์ มีกำหนดเผยแพร่อย่างเป็นทางการบนเน็ตฟลิกซ์ทั่วโลก ในวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ถือเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องที่สองที่ได้ฉายบนเน็ตฟลิกซ์ในฐานะภาพยนตร์ต้นฉบับของเน็ตฟลิกซ์ (Netflix Original Movies) ต่อจาก บีเอ็นเคโฟร์ตีเอต: วันเทก และ ยังถือเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ถ่ายทำด้วยเทคโนโลยี HDR ตามมาตรฐานของเน็ตฟลิกซ์ และ ดอลบี วิชั่นตลอดทั้งเรื่อง
การดำเนินเรื่อง
เป็นเรื่องหมอหนุ่มสองคน วี (ต่อ-ธนภพ ลีรัตนขจร) และ กล้า (ไอซ์-พาริส อินทรโกมาลย์สุต) ที่หมกมุ่นกับการทำวิจัย และ หาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ว่าผีมีจริง (ย้ำ… ตัวเอกเป็นหมอ และ พยายามหาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์มาพิสูจน์ว่าผีมีจริง)
ซึ่งพล็อตมันทำให้เรานึกถึงหนังฮอลลีวู้ดเรื่อง Flatliners (2017) ที่เล่าเรื่องกลุ่มนักศึกษาแพทย์ที่ทำให้หัวใจตัวเองหยุดเต้นชั่วขณะเพื่อทำการทดลอง และ หาคำตอบเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย แต่เราไม่ได้ดูเรื่องนั้น เลยยังพูดถึงไม่ได้มาก แปะไว้ก่อน
เราไม่ได้มีปัญหาเรื่องตัวเอกเป็นหมอหรือเป็นเด็กสายวิทย์แล้วมาหมกมุ่นเรื่องผี แต่เราคิดว่า สิ่งที่ตัวเอกใน Ghost Lab ทำเพื่อการวิจัยในหนังมันยังไม่ค่อยวิทย์มากพอ ไม่แน่ใจว่าคนเขียนบทมีสายวิทย์บ้างมั้ยหรือได้ปรึกษาคนสายวิทย์มามากน้อยแค่ไหนน แต่เท่าที่ดูจากหนัง หนังมันเหมือนเอาคนสายศิลป์มาทำแล็บ เหมือนเอาเด็กศิลป์มาเขียนบทหนังให้มีความวิทย์ ๆ แล้วมันแตะได้แค่วิทย์ระดับประถม-ม.ต้น เช่น การตั้งสมมติฐาน การหาตัวแปร หรือกระทั่งพยายามจัดไฟลัมให้กับผี ฯลฯ
แล้วไอเดียส่วนใหญ่ก็ตั้งบนพื้นฐานของอารมณ์ความรู้สึกเหมือนหนังผีทั่วไป เช่น ผีโผล่มาให้เห็นเพราะผีห่วง/ผีแค้น นอกเหนือจากนั้น การทดลองก็ทำแบบทั่วไปเหมือนรายการล่าท้าผีทั่วไป เช่น พยายามตั้งกล้องจับภาพผี ตรวจวัดอุณภูมิโดยรอบ ฯลฯ สั้น ๆ ก็คือ ถ้าจะทำแค่นี้ ไม่ต้องวางตัวเอกให้เป็นหมอระดับท็อปรุ่นก็ได้
ความรู้สึกหลังรับชม
เอาตรง ๆ จากความรู้สึกจืดเลย ตั้งแต่เริ่มเรื่องมาเหมือนพยายามปู ฉีกกฎทดลองผี สปอย เพื่อให้ไปสู่การทดลองต่าง ๆ แต่พอมาถึงการทดลองที่ตัวไอซ์ต้องฆ่าตัวตาย ได้แต่ร้องเห้ย! แบบงง ทำไมถึงตัดสินใจไปแบบง่ายมากทั้ง ๆ ที่ตัวเองเป็นเจ้าของงานวิจัยนี้ หลังจากนั้น เส้นเรื่องก็เปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือ มันไม่ใช่พลิกแบบสุดยอดว่ะ แต่พลิกแบบที่พาคนดูหลงไปทางไหนก็ไม่รู้ แล้วเหมือนสุดท้ายพยายามจะตบคนดูกลับมา แต่ก็ตะเลิดไปไกลซะแล้ว
ที่รู้สึกอีกอย่าง คือรู้สึกว่าเสียดายนักแสดงหลาย ๆ คนในเรื่องนี้มากโดยเฉพาะคุณสู่ขวัญ ที่มาเล่นเป็นแม่ เพราะเอาระดับคุณสู่ขวัญมา แต่เป็นฉากแบบไม่ถึง 5 นาที และ ณิชา ที่ได้เล่นภาพยนตร์ทั้งที แต่ออกมาแบบนิด ๆ หน่อย ๆ เลยทำให้รู้สึกเสียดายมาก ๆ บทน่าจะส่งให้ไปได้ไกลกว่านี้
รีวิว ghost lab ฉีกกฎทดลองผี
รีวิว ghost lab ฉีกกฎทดลองผี เราต่างได้ยินเรื่องเล่า หนังผี ของสิ่งลี้ลับเหนือธรรมชาติที่เรียกว่า ‘ผี’ หรือ ‘วิญญาณ’ มาช้านาน แต่ใครเล่าจะบอกได้อย่างเต็มปากว่าสิ่งที่มองไม่เห็นนี้มีอยู่จริง จะเต็มที่ก็มีเพียงหลักฐานชิ้นเล็กชิ้นน้อย เช่น ภาพถ่าย ที่สุดท้ายผลพิสูจน์ก็มักออกมาในทางตรงกันข้ามเสมอจากการใช้กฎเกณฑ์ทางหลักวิทยาศาสตร์เข้าช่วย แล้วถ้าหากสมมติว่ามีคนที่ปักใจเชื่อเรื่องของการมีตัวตนอยู่ของโลกหลังความตาย และ พร้อมจะ ‘แลกทุกสิ่งทุกอย่าง’ เพื่อแสดงให้โลกเห็นว่าพวกเขาเชื่อไม่ผิดนั้นจะเป็นอย่างไร
สิ่งที่กล่าวมาในข้างต้นคือธีมหลักของภาพยนตร์เรื่อง Ghost Lab ฉีกกฎทดลองผี ที่ผู้กำกับ ‘กอล์ฟ – ปวีณ ภูริจิตปัญญา’ ต้องการนำเสนอออกมา ผ่านตัวละคร ‘กล้า’ – อาจอง สุญญตา (พาริส อินทรโกมาลย์สุต) และ ‘วี’ – ชีวี พรหมเมธัส (ธนภพ ลีรัตนขจร) สองหมอแผนกศัลยกรรมของโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง
ซึ่งมีความเชื่อในเรื่องของโลกหลังความตายแบบสุดขั้ว ทางหมอกล้าพยายามจะพิสูจน์ทุกวิถีทางให้คนอื่นเชื่อว่า ‘ผีมีอยู่จริง’ จากอดีตวัยเด็กที่เขาปักใจเชื่อว่าเคยพบกับวิญญาณของพ่อผู้เสียชีวิตไป ขณะที่หมอวีเชื่อว่าเป็นเพียงเรื่องจินตนาการ หลักการวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายเรื่องลี้ลับนี้ได้ทั้งหมด จนกระทั่งค่ำคืนหนึ่ง พวกเขาได้มองเห็นวิญญาณที่โดนไฟคลอกร่วมกัน และ จุดนี้เอง ส่งผลให้ทั้งคู่ตกลงปลงใจเริ่มแผน ‘ล่าแสงเหนือ’ เพื่อแสดงให้โลกเห็นว่าผีมีอยู่จริง และ นำงานวิจัยที่ว่าตีพิมพ์ลงยังนิตยสาร The Experiment
บทตั้งต้นภาพยนตร์เรื่องนี้มีความน่าสนใจไม่น้อย เพราะส่วนใหญ่เรามักจะได้เสพภาพยนตร์แนวภูตผีจากฝีมือผู้กำกับไทย ชนิดที่ว่าเป็นการเจอจากการลบหลู่ ลองของ หรือแนวสืบสวนสอบสวน แต่กลับไม่ค่อยเห็นในแนวตั้งข้อสมมติฐานเป็นแก่นหลักของเรื่องเสียเท่าไรนัก Ghost Lab จึงเปรียบเสมือนข้อเชื้อเชิญผู้ชมให้ก้าวตามมา แล้วอุดมคติในเรื่องโลกหลังความตายของคุณจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
จุดนี้ถือเป็นวัตถุดิบฟรีสไตล์อย่างมากในการทำหนังผี เพราะเชื่อเถอะว่าไม่เคยมีคนตายที่ไหนกลับมาเล่าให้เราฟังแบบตัวเป็น ๆ ได้ว่า เมื่อถึงจุดจบของชีวิตแล้ว พวกเขาเจอต้องไปพบเจออะไรบ้าง
บทสรุป
ผลงานจากค่าย GDH ของผู้กำกับ ปวีณ ภูริจิตปัญญา หนังผี gth ที่เน้นทำแนวสยองขวัญจากผลงานแจ้งเกิด บอดี้ ศพ19 (2550) และ กำกับ 4 กับ 5 แพร่งตอน “ยันต์สั่งตาย” กับ “หลาวชะโอน” ซึ่งมาคราวนี้เหมือนตั้งใจฉีกกฎหนังผีเต็มที่ด้วยการใช้แนววิทยาศาสตร์การทดลองมาร่วมด้วย ซึ่งในตอนแรกคิดว่าคล้าย FLATLINERS (ขอตายวูบเดียว) หนังสยองขวัญกึ่งผีกึ่งวิทยาศาสตร์ชื่อดังในอดีตที่พึ่งมารีเมคทำใหม่ไม่นานนี้
ด้วยพล็อตต้องการทดลองพิสูจน์หาชีวิตหลังความตายเหมือนกัน แต่โกสแล็บเน้นไปที่เรื่องราวการทดลองให้ผีปรากฎตัว ซึ่งตัวเรื่องดูตั้งใจให้มีความแปลกใหม่กับหนังผีไทย เมื่อเรื่องเริ่มจากการพิสูจน์หาผีในรูปแบบต่าง ๆ แต่ที่หนังนำมาใช้กลับไม่ได้ใหม่ซะทีเดียว เพราะหนังผีแนวพิสูจน์บ้านผีก็เคยนำวิธีพวกนี้มาใช้จนเกร่อแล้ว อย่างกล้องจับความร้อน หรือการใช้กล้องถ่ายผีโดยตรงไม่ติดตามกฎในเรื่องที่อ้างว่ายุคนี้มีกล้องมากมายทำไมไม่มีคลิปผีจะ ๆ
กลายเป็นการพิสูจน์โดยการถ่ายพวกปรากฎการณ์ โพลเตอร์ไกสท์ (Poltergeist) ก็คือปรากฎการณ์ผีหลอกจากข้าวของเคลื่อนที่ได้ ทำให้ตัวเรื่องที่ดูเหมือนจะแปลกใหม่ ก็ไม่ได้มีอะไรแปลกให้เห็นเลย ซ้ำร้ายยังกลายเป็นว่าความพยายามให้เรื่องนี้ฉีกกฎต่าง ๆ ของหนังผี กลับกลายเป็นความไม่สมเหตุผลจนถึงขั้นตลก (อย่างไม่ตั้งใจ) กับบทหนังที่พยายามจริงจังสุดชีวิตไปแทน
หนังผีที่พยายามอย่างมากที่จะฉีกแนวหนังผีไทย แต่บทกลับไปไม่ถึงไหน หลายสิ่งที่นำเสนอไม่ได้ใหม่เลยกับคนดูหนังผีแนวท้าพิสูจน์แบบต่าง ๆ ที่เคยมีมาก่อนเยอะแล้ว แต่ปัญหาของเรื่องจริง ๆ คือความพยายามลากเรื่องให้น่ากลัวแบบมีเหตุผลควบคู่ไปกับทฤษฎีวิทยาศาสตร์ แต่ไม่สำเร็จเพราะเหตุผลกับการเดินเรื่องมันไปกันไม่ได้ มีความย้อนแย้งกันในตัวตลอดเวลา จนรู้สึกแอบตลกอยู่หลายฉากแบบไม่ตั้งใจไปจนจบเรื่องเลยทีเดียว