รีวิว สยามสแควร์ 2017

รีวิว สยามสแควร์ 2017

หนังไทยnetflix สวัสดีครับหลายๆคนคงรู้จักสยามสแควร์ เพราะหากพูดถึงสถานที่ท่องเที่ยวที่ช่วงนึงเคยเป็นเทรน ที่วัยรุ่นไทย ส่วนใหญ่มักสนใจและอยากไปเดินเที่ยวกัน และนี่ก็คือหนังจากค่ายสหมงคลฟิล์มที่หลัง ๆ ดูซบเซาลงพอตัวเลยแหละครับ แต่จากหน้าหนังที่ปล่อยมาทำให้เราคาดหวังได้พอสมควรว่าสหมงคลน่าจะกลับมาทวงแถวหน้าของวงการหนังไทยได้อีกครั้ง ด้วยองค์ประกอบที่ฉีกแนวไปจากหนังเรื่องอื่น ๆ ในตลาด ทั้งการผสมแนววัยรุ่นวัยเรียนกับแนวสยองขวัญ บนพื้นที่ที่ทุกคนคุ้นเคยหรือมีประสบการณ์ร่วมอย่าง สยามสแควร์ฯ ที่เป็นทั้งแหล่งช็อปปิ้งและเรียนพิเศษมาไม่ว่ายุคไหน ๆ ดูหนังออนไลน์ ดูหนังฟรี

ส ปอย หนัง ดูจากตัวอย่าง อาจจะมองว่าเป็นหนังที่มีแง่มุมแค่ความรักประสาวัยรุ่น แต่เมื่อไปดูจริงๆ กลับได้พบว่ามันมีมากกว่านั้น เพราะมันได้ใส่เรื่องราวของวัยที่ยังไม่ประสากับชีวิตมากนัก บางครั้งก็ทำอะไรโดยไร้ความยั้งคิด ไร้การตริตรองจนถึงขั้นสร้างผลร้ายทิ้งไว้ให้กับใครบางคน ดูหนังฟรี ดูหนังออนไลน์

ชื่อภาพยนตร์: สยามสแควร์
ผู้เขียนบทภาพยนตร์: Homsap Chanchana, Eakarach Monwat, Petchsri Teepanun
ผู้กำกับภาพยนตร์: ไพรัช คุ้มวัน

รีวิว สยามสแควร์ 2017

รีวิว สยามสแควร์ 2017

รีวิว สยามสแควร์ 2017 สยามสแควร์ ใช้สยามสแควร์…แหล่งท่องเที่ยวสุดฮิตของวัยรุ่นไทย…เป็นฉากหลังของภาพยนตร์ แต่คราวนี้ต่างจาก รักแห่งสยาม ตรงที่เขาจะเล่าตำนานสยองขวัญของสยามสแควร์ เรื่องของเด็กผู้หญิงที่หายไปอย่างลึกลับจากเหตุการณ์ไฟดับเมื่อ 30 ปีก่อน

หนังไทยที่หยิบเอาช่วงเวลาของวัยรุ่นที่ผูกพันกับสถานที่อันมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของวัยรุ่นมาหลายสิบปี จนเริ่มมีคนคิดว่า “แล้วจริงๆ สยามสแควร์มันมีผีมั้ยหว่า” ถ้าจะหยิบพล็อตผีใส่สถานที่สักแห่งที่เข้าถึงกลุ่มคนดูหนังวัยรุ่นได้ ก็น่าจะเป็นที่นี่แหละ

สังเกตได้ว่า ผมไม่ได้กล่าวถึงตัวละครใดๆ เลยสักตัวในเรื่องย่อหนัง สาเหตุก็เพราะ มันมากเกินที่จะมานั่งสาธยายให้หมดจดถ้วนทั่วทุกตัวนักแสดง ชื่นชมในการแสดงของหลายคน ไม่ว่าจะเป็น เบสต์ ณัฐสิทธิ์ โกฏิมนัสวนิชย์ ที่เล่นได้โดดเด่นโดยเฉพาะบทฮา อีกคนที่เด่นก็คงเป็น พลอย ศรนรินทร์ ขณะที่เรื่องความน่ารักคงหนีไม่พ้นสองคนนี้ อุ้ม อิษยา ฮอสุวรรณ และ เหม่เหม ธัญญวีร์ ชุณหสวัสดิกุล

พร้อมกับคำถามว่าถ้าสยามที่เรารู้จักมีอีกด้านหนึ่งที่แสนลึกลับล่ะ? ด้วยภาพแบบทันสมัยกับพล็อตที่มีกลิ่นความเชื่อโบราณ ๆ กลายเป็นความขัดกันที่น่าสนใจขึ้นมามากทีเดียวและความเห็นหลังจากได้รับชมแล้ว ต้องบอกว่านี่คืองานหนังไทยที่กล้าลองสูตรใหม่ ๆ และฉลาดในการเล่ามากที่สุดเรื่องหนึ่งในขณะนี้เลยครับนี่เป็นผลงานการกำกับเต็มตัวเรื่องแรกของ ป้อง-ไพรัช คุ้มวัน ที่เคยร่วมงานกับเจ้าพ่อฮิปสเตอร์สุดเทพอย่าง เต๋อ-นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์

โดยเขาเคยกำกับภาพให้หนังดี ๆ มัน ๆ อย่าง Mary is Happy,Marry is Happy นอกจากนี้ยังรวมถึงกำกับภาพใน 36 หนังเรื่องแรกของเต๋ออีกด้วยเมื่อต้องทำหน้าที่กำกับเองในเรื่องนี้ ด้านงานกำกับภาพไพรัชจึงไว้ใจให้ ภิไธย สมิตสุต ที่มีผลงานระดับอินเตอร์ทั้งเวทีประกวดและงานเบื้องหลังหนังดังฮอลลีวู้ดที่มาถ่ายทำในบ้านเรามากมายมารับผิดชอบไป

ซึ่งการที่ต้องถ่ายด้วยข้อจำกัดอย่างการห้ามตั้งขาตั้งกล้องและใช้ทีมใหญ่ตามข้อตกลงการใช้พื้นที่ ทำให้ภิไธยเลือกใช้เลนส์อนามอฟิกที่ทำให้ได้ภาพกว้างเหมาะกับการถ่ายแบบแฮนด์เฮลด์อีกด้วย

เรื่องย่อ/เนื้อหา

รีวิว สยามสแควร์ 2017

​เมื่อราวๆ 30 ปีก่อน เคยเกิดเหตุการณ์ไฟดับครั้งใหญ่ไปทั่วทั้งเวิ้งสยามสแควร์ พร้อมๆ กับการหายตัวไปอย่างลึกลับของเด็กสาวคนหนึ่ง ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นเรื่องเล่าสยองขวัญปากต่อปากจนถึงปัจจุบันว่า วิญญาณของเด็กสาวคนนั้นยังคงวนเวียนอยู่ในสยาม หากใครบังเอิญเจอและโดนผูกด้ายแดงเข้าที่ข้อมือจะมีอันเป็นไป

ตำนานเล่าสยองขวัญข้างต้นนี้ ได้เกิดขึ้นแล้วจริงๆ ใน สยามสแควร์ หนังยาวเรื่องล่าสุดของ ไพรัช คุ้มวัน เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับกลุ่มเพื่อนนักเรียนมัธยมปลายในโรงเรียนกวดวิชาแห่งหนึ่ง ที่พาตัวเองเข้าไปพัวพันกับตำนานสยองขวัญดังกล่าวทั้งแบบตั้งใจและไม่ตั้งใจ จนโดนด้ายแดงผูกติดข้อมือกันถ้วนหน้า ทำให้พวกเขาต้องช่วยกันหาวิธีหนีให้พ้นจากตำนานบ้าๆ นี้ไปให้ได้ ก่อนที่ชีวิตของพวกเขาจะโดนวิญญาณเด็กสาวพรากไปในท้ายที่สุด

ทว่าทางออกที่ต้องการกลับไม่ได้นำพามาแค่เส้นทางเท่านั้น แต่ยังเปิดเผยความจริงของตำนานสยองขวัญที่น่าเหลือเชื่อและน่าสนใจมาก เพราะใครจะไปคิดว่าอยู่ดีๆ หนังผีพล็อตหลอนๆ ที่มีจังหวะการหลอกแบบโหดๆ แอบตลกบ้างเป็นครั้งคราวเรื่องนี้ จะพลิกพล็อตไปเล่นเรื่องการเดินทางข้ามกาลเวลา มิติคู่ขนาน และผีเทียมแบบไม่มีปี่มีขลุ่ยตอนกลางเรื่อง ชนิดที่ทำเอาคนดูเกือบทั้งโรงเหวอไปกับความกล้าหักมุม 360 องศาได้ขนาดนี้ สยามสแควร์ Netflix

ข้อสังเกต สยามสแควร์ 2017

รีวิว สยามสแควร์ 2017

นอกจากเรื่องผีเทียมที่เป็นแมสเสจหลักของหนังแล้ว สยามสแควร์ ยังแทรกประเด็นทางสังคมแง่มุมอื่นๆ ลงไปอีกหลายเรื่อง ที่ชัดเจนรองลงมาหน่อยก็เห็นจะเป็น ‘ความเปลี่ยวเหงาจากสังคมก้มหน้า’

ความจริงการก้มหน้าดูจอมือถือตลอดเวลาในยุคนี้ก็ไม่ใช่เรื่องผิดซะทีเดียว เพราะความจำเป็นในการใช้งานมือถือของคนเราไม่เท่ากัน แต่ปัญหามันอยู่ที่ว่าระหว่างการไถมือถือ ได้เงยหน้ามาสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนใกล้ตัวมากแค่ไหน เพราะก็ต้องไม่ลืมเช่นกันว่าแต่ละคนมีขีดความอดกลั้นต่อความน้อยใจต่างกัน อย่างตัวละคร เมย์ (อิษยา ฮอสุวรรณ)

ไม่พอในด้านบทหนัง ยังเป็นโปรเจคที่ใช้ทีมงานและเวลาฟูมฟักกันมานานกว่า 3 ปีทีเดียว จนได้ผู้กำกับไพรัชมาสรุปท้ายสอดแทรกประสบการณ์ส่วนตัวลงไป เกิดเป็นหนังอย่างที่ได้รับชมกันตอนนี้ หนังเล่าเรื่องของกลุ่มเพื่อนเรียนพิเศษต่างโรงเรียน ที่มีจุดศูนย์กลางเรื่องเล่าอย่าง เมย์ (อุ้ม อิษยา) เด็กสาวหน้าสวยแต่ดันมีนิสัยมั่นดูหยิ่งไม่ค่อยน่ารักนัก ทำให้เพื่อนรอบ ๆ ตัวเธอค่อย ๆ หายไป เหลือเพียง จุ๊บเล็ก (หลิว มรกต) เพื่อนคนสนิทเท่านั้นที่อยู่เคียงข้าง

ที่ลึกๆ อาจคิดว่าเพื่อนสนิทอย่าง จุ๊บเล็ก (มรกต หลิว) ไม่เข้าใจตัวเธอ เลยหันไปคุยกับเพื่อนที่รู้จักกันทางไลน์มากกว่าเงยหน้ามาคุยกับจุ๊บเล็ก ที่มักเตือนด้วยความหวังดีแต่แอบแรงอยู่บ่อยๆ จนเกิดเป็นรอยร้าวในความสัมพันธ์คนทั้งสอง ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเส้นทางที่นำไปสู่ต้นกำเนิดผีเทียมในเรื่องถึงจะบอกว่า สยามสแควร์ เป็นหนังที่มีประเด็นซ่อนเอาไว้เยอะมาก ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจำเป็นต้องเก็บรายละเอียดไปหมดทุกเม็ด จริงๆ

เอาแค่เข้าไปดูแบบไม่คิดอะไรเลยก็ยังได้ เพราะจังหวะจะโคนในการเล่าเรื่องของหนังทำได้ดีทีเดียว อาจไม่หักมุมรุนแรงเท่า Cabin in the Wood (2012) แต่มันก็เหวอมากพอให้สบถดังๆ ได้เหมือนกัน สยามสแควร์ หนังเก่า

รีวิว สยามสแควร์ 2017

รีวิว สยามสแควร์ 2017สยามสแควร์ เป็นผลงานการกำกับเต็มตัวเรื่องแรกของ ป้อง-ไพรัช คุ้มวัน ผู้กำกับภาพของ Mary Is Happy, Marry Is Happy และ 36 ของผู้กำกับขวัญใจฮิปสเตอร์ พี่เต๋อ-นวพล ธำรงรัตนฤทธิ์

อย่างไรก็ตาม หนังเขาก็ไม่ได้ใช้โลเกชั่นสยามสแควร์คุ้มค่ามากมายสมกับที่อุตส่าห์ตั้งชื่อหนังว่า สยามสแควร์ แต่อย่างใดหรอกนะ ประมาณเกือบ 80% ของหนัง เขาก็ถ่ายในห้องเรียนพิเศษเล็ก ๆ ในตึกกวดวิชาเก่า ๆ ก็เท่านั้นแหละ มีเดินไปเดินมาในซอยอื่นบ้าง หรือไปนั่งร้านมิลค์พลัสบ้าง แต่ก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์อันใดมากนัก

การดำเนินเรื่องของหนังเรื่องนี้ เหมือนพยายามจะชักชวนให้ขวัญผวาอยู่บ่อยครั้ง เล่นมุกตกใจไม่ถึงกับบ่อย แต่ก็ไม่ได้ถึงกับชวนขนหัวลุกแต่อย่างใด (ในกลุ่มเป้าหมายที่กลัวผีอยู่เป็นทุน นั่นก็คงเป็นข้อยกเว้น) แต่คนตัดต่อพยายามอย่างยิ่งที่จะเล่าเรื่องให้มีชั้นเชิงด้วยการตัดสลับบางเหตุการณ์เอาไว้นึกสงสัยว่ามันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ แล้วย้อนกลับไปเล่าเรื่องก่อนหน้าเพื่อมาบรรจบกับเรื่องปัจจุบัน ส่งผลให้คนดูต้องครุ่นคิดปะติดปะต่อเรื่องราว

ตัวละครหลักมีทั้งหมด 10 คน เป็นเพื่อนที่เรียนพิเศษที่เดียวกัน ได้แก่ เมย์ (อุ้ม อิษยา), จุ๊บเล็ก (ต้นหลิว มรกต), นิด (พลอย จากอาปัติ), เติร์ก (ภีม จากฮอร์โมนส์), ม่อน (เบสท์ ณัฐสิทธิ์ จากตั้งวง, อวสานโลกสวย, MV อ้าว), หมูหวาน (ปลื้ม ปุริม จากเกรียนฟิคชั่น), นิวตัน (เอิร์ธ อติคุณ หรือสมพงษ์ ฮอร์โมนส์), ปอนด์ (บอนน์ มนภัทร), เฟิร์น (เหม่ยเหมย ธัญญวีร์), และมีน (คิ้ว อนงค์นาถ)

ตัวละครทั้งหลายข้างต้นเป็นจุดอ่อนสำคัญของหนังเรื่องนี้ เพราะตัวละครมันมีเยอะเกินไปอย่างกับทีม Avengers แล้วหนังก็พยายามจะให้แต่ละตัวมีเส้นเรื่องของตัวเอง จนเกิดเส้นเรื่องที่ไม่จำเป็นเยอะเกินไป เช่น รักหลายเส้าอิรุงตุงนังตามประสาวัยว้าวุ่น สยามสแควร์ เนื้อเรื่อง

บทสรุป

ถ้าไม่คาดหวังอะไรมาก คือก็มีประเด็นวัยรุ่น เช่น เรื่องเพื่อน เรื่องความรัก เรื่องความต้องการการยอมรับ ฯลฯ คือก็พอมีอะไรใหม่ ๆ ให้ดู ถึงแม้ว่าจะเป็นการเริ่มต้นทำอะไรใหม่ ๆ ที่มั่ว ๆ งง ๆ เป็นต้มจับฉ่ายไปเสียหน่อย แต่อย่างน้อยมันก็พอมีรสชาติอยู่บ้างอะไรบ้าง อย่างน้อยที่สุดดาราเด็ก ๆ หลายคนก็เจริญหูเจริญตา และน้องเบสท์โอปป้าก็มอบความบันเทิงให้เราได้ไม่น้อย

ถึงจะบอกว่า สยามสแควร์ เป็นหนังที่มีประเด็นซ่อนเอาไว้เยอะมาก ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจำเป็นต้องเก็บรายละเอียดไปหมดทุกเม็ด จริงๆ เอาแค่เข้าไปดูแบบไม่คิดอะไรเลยก็ยังได้ เพราะจังหวะจะโคนในการเล่าเรื่องของหนังทำได้ดีทีเดียว อาจไม่หักมุมรุนแรงเท่า Cabin in the Wood (2012) แต่มันก็เหวอมากพอให้สบถดังๆ ได้เหมือนกัน

เป็นหนังที่เราอาจทั้งชอบมากและเกลียดมากไปเลย ซึ่งไอ้หนังแบบนี้ล่ะครับที่เขาเรียกว่ามีของ ถึงจะสร้างความรู้สึกรุนแรงกับคนดูหลังหนังจบได้แบบนี้ ไม่ว่าจะชอบจะไม่ชอบแต่สิ่งหนึ่งที่พูดได้คือหนังกล้ามาก ฉลาดมาก น่ากลัวมาก และเป็นหนังที่ตีตั๋วไปเชียร์หนังไทยได้อย่างไม่เสียดายตังค์ครับ สยามสแควร์ 2527

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *